1. การจัดวาง ห้องอาหาร ควรอยู่ติดกับห้องรับแขก และ ห้องนั่งเล่น และต่อเนื่องกับห้องครัว หรือห้องเตรียมอาหารบางบ้าน อาจใช้ ห้องอาหารเป็นส่วนหนึ่งของห้องรับแขกโดยจัดกลุ่มเฟอร์นิเจอร์ รับประทานอาหารไว้คนละด้าน ผนังห้องอาหาร ด้านหนึ่งอาจเปิด ต่อสู่เฉลียงให้สามารถไปจัดรับประทานอาหารด้านนอกได้ การเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ภายในได้แก่ โต๊ะอาหารและ เก้าอี้ ให้คำนึงถึง สมาชิกและ ประเภทอาหาร ในมื้อเย็นเป็นหลัก เนื่องจากเป็นมื้อที่ทุกคนในบ้านจะพร้อมหน้าพร้อมตากันมากที่สุด ประตูระหว่างห้องเตรียมอาหาร หรือห้องครัวควรเป็นประตูเปิดปิดได้สองทางเพื่อความสะดวกในการลำเลียงอาหาร และเก็บจาน ที่สำคัญ คือต้องมีพื้นระดับเดียวกัน เพื่อป้องกันการเดินสะดุด เวลาใช้งาน
2. การเลือกวัสดุและสีห้องทานอาหาร พื้นควรใช้วัสดุที่ทำความสะอาดได้ง่ายเช่นไม้ปาเก้ กระเบื้องยางหรือวัสดุที่ต่อเนื่องจากห้องอื่น ๆ การเลือกใช้สีที่ตื่นเต้น เช่น สีแดงมีผลทำให้อยากรับประทานอาหารมากยิ่งขึ้น แต่ควรใช้เป็นจุดเน้นเล็ก ๆ โดยไม่ขัดกับส่วนประกอบส่วนใหญ่ภายในห้อง
3. เฟอร์นิเจอร์ลอยตัวและการตกแต่ง ควรเลือกใช้โต๊ะอาหารที่มากกว่าจำนวนคนในบ้าน 1-2 คนเพื่อใช้ต้อนรับแขก โต๊ะที่ใช้มีทั้งโต๊ะกลมและสี่เหลี่ยม ถ้าผู้ใช้จำนวนมากอาจใช้โต๊ะกลมที่มีแป้นหมุนโดยรอบ หรือใช้โต๊ะหลายตัวต่อกันสามารถต่อเติมได้ถ้ามีสมาชิกเพิ่มมากขึ้น ผิวโต๊ะที่ใช้มีหลายประเภทเช่น กระจกใส ไม้ ไม้บุพลาสติกลามิเนต อาจเพิ่มสีสันให้กับห้องโดยใช้ผ้าปูโต๊ะสีสันต่าง ๆ และสามารถเปลี่ยนรูปแบบได้อีก หลากหลายด้วย เก้าอี้รับประทานอาหาร ควรเลือกใช้แบบไม่มีที่ท้าวแขนเนื่องจากใช้พื้นที่มาก แต่สามารถใช้ในที่นั่งของบุคคลสำคัญในบ้าน เช่น บริเวณหัวโต๊ะ และควรเลือกให้มีการออกแบบเข้ากับโต๊ะอาหาร นอกจากนี้ควรมีตู้ติดผนังไว้เก็บอุปกรณ์รับประทานอาหาร หรือใช้เป็นที่วางอาหารก่อนการเสริฟด้วย
4. แสงในห้องอาหาร แสงไฟในห้องรับประทานอาหารควรจะนุ่มนวล ไม่สว่างจ้า สามารถมองเห็นอาหารได้ชัดเจน และเน้นบริเวณที่สำคัญ เช่น ไฟส่องกลางโต๊ะ ไฟส่องรูป ไฟส่องผนัง เป็นต้น
Read more: http://www.novabizz.com/CDC/Interior/Dinningroom.htm#ixzz2DyZEqUGj
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น